เป้าหมาย (Understanding Goal) :

เป้าหมาย (Understanding Goal) :นักเรียนเข้าใจการดำเนินการของจำนวน และเห็นความสัมพันธ์แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้น ลดลง ขนาด รูปร่างและสี ที่สัมพันธ์กัน สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

Main

"คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ"

เป้าหมายการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

- เข้าใจเนื้อหาที่เป็นพื้นฐาน เพื่อเรียนรู้วิชาอื่น เช่น

วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ พันธุกรรมศาสตร์ อย่างเช่น ความน่าจะเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์ศึกษาพันธุกรรมของเมล็ดถั่ว ในทางชีววิทยาใช้เลขยกกาลังในการกำหนดหน่วยความยาวของดีเอ็นเอ (DNA) อัตราส่วนและยกกาลังไปใช้ในการหาดัชนี มวลกายของคน เพื่อวิเคราะห์และศึกษาภาวการณ์สะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิ แผนที่ทางอากาศบอกช่วงเวลา

เศรษฐศาสตร์ อย่างเช่น วิธีการอ่านกราฟและฟังก์ชัน การหาดุลยภาพและการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด เรียนรู้วิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดของผู้บริโภคและผู้ผลิต

การงานอาชีพ ศิลปะ อย่างเช่น อัตราส่วนการปรุงอาหาร การประกอบอาชีพ การออกแบบ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การเขียนโปรแกรมฯ การประมาณขนาดรูปร่างในการวาดภาพ มองโครงสร้างโมเดลจำลองในการสร้างประติมากรรม การเปรียบเทียบขนาดรูปร่างทางเรขาคณิต(พื้นที่ / ปริมาตร)

สังคม ประวัติศาสตร์ อย่างเช่น การบอกเวลา ระยะทาง บอกค่าเงิน(การแปลงค่าเงิน / การซื้อขายแลกเปลี่ยน) การคำนวณปีจากอดีต-ปัจจุบัน(พ.ศ. / ค.ศ.) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การออกแบบภูมิปัญญา(ปัญญาประดิษฐ์) การคำนวณความกว้างของแม่น้ำ การสร้างที่อยู่อาศัย ฤดูกาล

สุขศึกษา พลศึกษา อย่างเช่น การคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย(BMI) การบอกค่าพลังงานจากสารอาหาร การวัดขนาดร่างกาย (น้ำหนัก / ส่วนสูง) การนับการเต้นของหัวใจ

- พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การมองเห็นรูปแบบ (Pattern) การสร้างภาพในสมอง การให้เหตุผล การสื่อสาร เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย

Mind mapping (สาระการเรียนรู้)





ปฏิทินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ หน่วย : จำนวนหรรษา 2
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2559 (Quarter 2)


Week


Input

Process

Output

Outcome
1
 (5 ชั่วโมง/สัปดาห์)
โจทย์
ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมา

คำถาม
 นักเรียนคิดว่าตัวเลขเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันอย่างไร ?

เครื่องมือคิด
- Barnstorms
- Blackboard Share
- Think Par Share
- Round Rubin
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บัตรภาพ /บัตรจำนวนตัวเลข
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมาร่วมกัน
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ใน Quarter ที่ผ่านมาได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง ”
-นักเรียนเล่นเกมนับจำนวนเมล็ดพันธุ์ที่ตนเองเตรียมมา
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเตรียมเมล็ดพันธุ์อะไรมา มีจำนวนเท่าไร ” ถ้านำมารวมกันทั้งห้องจะมีจำนวนเมล็ดพันธุ์เท่าไร ของใคร
- ครูและนักเรียนร่วมกันเล่นเกม “วงล้อจำนวน”เพื่อทบทวนเรื่องจำนวนและการดำเนินการ
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
- นักเรียนสรุปความเข้าใจก่อนเรียน Q./59



ภาระงาน
-พูดคุยแสดงความคิดเห็นในการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมาร่วมกัน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ

ชิ้นงาน
สรุปความเข้าใจก่อนเรียน
ความรู้
สามารถปรับตัวในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และเข้าใจค่าของจำนวนตัวเลข

ทักษะ
- การแก้ปัญหาและการให้เหตุผล
- ความรู้สึกเชิงจำนวน
การคิดสร้างสรรค์
- การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน
การทำงานร่วมกับผู้อื่น
การสื่อสาร  สื่อความหมาย และการนำเสนอ

คุณลักษณะ
- มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 

มาตรฐาน  ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
- .1/1 เขียนและอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทยแสดงปริมาณของสิ่งของหรือจำนวนนับที่ไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์
- ป.1/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์
มาตรฐาน  ค 1.2  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
- ป.1/1 บวก ลบ และบวก ลบระคนของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
มาตรฐาน ค  6.1  มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- ป.1/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
- ป.1/2    ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ใน  การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
- ป.1/3  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
- ป.1/4    ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง
- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
- ป.1/6    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


Week


Input

Process

Output

Outcome
2
 (5 ชั่วโมง/สัปดาห์)


                        
โจทย์
- ลำดับเหตุการณ์
- การบวกและการลบ

คำถาม
นักเรียนมีวิธีการลำดับเหตุการณ์และแก้ปัญหาอย่างไร?

 เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Think Pare Share
- Round Rubin
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- แผ่นภาพ

- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานนำเข้าสู่เรื่องราวว่าทำไมต้องมีการรับสมัครเลือกตั้งเจ้าป่า เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง
- ขณะที่ครูเล่าถึงผู้สมัคร  ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกมาติดภาพผู้สมัครแต่ละตัวจนครบทั้ง 5 ตัว (ครูเตรียมภาพสัตว์และกระดาษชาร์ตแผ่นใหญ่ให้เห็น 2 ช่อง คือ 1.ลำดับผู้มาสมัคร  2.ชื่อผู้สมัคร )
- ครูตั้งโจทย์คำถามกระตุ้นคิด
- มีสัตว์อะไรมาลงสมัครบ้าง
- ใครมาลงสมัครเป็นตัวแรก และตัวสุดท้าย
- ทำไมเต่าถึงมาเป็นตัวแรก
- ทำไมลิงถึงมาเป็นตัวสุดท้าย
- สัตว์ตัวไหนมาก่อนและหลังกระต่าย
- ครูทบทวนเกี่ยวกับเหตุการณ์การรับสมัครเลือกตั้งเจ้าป่าวันแรก
- ครูเล่าเรื่องราวเชื่อมโยงวันจับฉลากเลือกเบอร์ของผู้สมัครแต่ละตัว
- ครูตั้งโจทย์คำถามกระตุ้นคิด : ผู้สมัครแต่ละคนมีโอกาสจับได้เบอร์ไหนบ้าง? การจับครั้งแรกจะได้เบอร์ไหน และมีโอกาสจะได้เบอร์ไหนมากกว่ากัน? จับครั้งที่ 2 มีโอกาสจะได้เบอร์เดิมหรือไม่ เพราะเหตุใด?
-ให้นักเรียนได้ออกมาจับฉลาก / ติดหมายเลขเบอร์ให้กับผู้สมัครทั้ง 5 ตัวจนครบ (ในกระดาษชาร์ตแผ่นใหญ่ให้เห็น 3 ช่อง คือ 1.ลำดับผู้มาสมัคร  2.ชื่อผู้สมัคร  3.เบอร์)
- ครูตั้งโจทย์คำถามกระตุ้นคิด
- ผู้สมัครตัวที่ 1,2,3,4,5 ได้เบอร์ไหน
- เด็กๆ อยากเลือกเบอร์ไหนเป็นเจ้าป่า
- เด็กๆ คิดว่าเบอร์ไหนจะได้อันดับที่ 1
- ผู้สมัครเบอร์ 3 มาสมัครเป็นตัวที่เท่าไร
- เบอร์ 5 แทนใคร
- จากเบอร์ที่ได้ใครเป็นผู้ชนะ
- ใครจะเป็นเจ้าป่าที่ดี
- ครูและนักเรียนทบทวนเกี่ยวกับผู้สมัคร และเบอร์ของผู้สมัครแต่ละตัว
- ครูเล่าถึงการใช้สิทธิ์และการรักษาสิทธิ์ในการลงคะแนนเลือกตั้ง
-ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการลงคะแนนจริงให้กับผู้สมัคร ใส่ไว้ในกล่อง (ครูเตรียมกล่องปิดทึบ)
- คุณครูหยิบบัตรลงคะแนนทีละใบขึ้นมาหรือให้นักเรียนอาสามีส่วนร่วมในการหยิบบัตรลงคะแนนออกจากกล่อง พร้อมประกาศหมายเลขในบัตรที่ลงคะแนนให้ ไปเรื่อยๆ จนหมดกล่อง โดยคะแนนแต่ละครั้งที่ได้ครูจะเป็นคนขีดให้ในช่องคะแนน      เท่ากับ        คะแนน
(ในกระดาษชาร์ตแผ่นใหญ่ให้เห็น 5 ช่อง คือ 1.ลำดับผู้มาสมัคร  2.ชื่อผู้สมัคร  3.เบอร์  4.คะแนน 5.รวมคะแนน)
- ครูและนักเรียนรวมคะแนนของผู้สมัครทั้ง 5 ตัว ร่วมกัน
- ครูตั้งโจทย์คำถามกระตุ้นคิด
-ใครได้คะแนนมากที่สุด และได้เท่าไร
-ใครได้คะแนนน้อยที่สุด และได้เท่าไร
- ผู้สมัครเบอร์ 1,2,3,4,5 ได้คะแนนเท่าไร
- เต่าต้องการคะแนนให้ได้เท่ากับสิงโต จะต้องเพิ่มคะแนนอีกเท่าไร
- กระต่ายกับลิงใครได้คะแนนมากกว่า แล้วมากกว่ากันเท่าไร
- มีผู้มาลงคะแนนทั้งหมดเท่าไร
- เด็กๆ อยากเพิ่มคะแนนให้ใคร
- ทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่วันสมัครจนถึงวันลงคะแนน
- ให้นักเรียนออกมาเขียนจัดอันดับของผู้สมัครทั้ง 5 ตัว (ในกระดาษชาร์ตแผ่นใหญ่ให้เห็น 6 ช่อง คือ 1.ลำดับผู้มาสมัคร  2.ชื่อผู้สมัคร  3.เบอร์  4.คะแนน 5.รวมคะแนน 6.อันดับ)
- ครูตั้งโจทย์คำถามกระตุ้นคิด
-ใครได้อันดับที่ 1
- อันดับที่ 1 มีคะแนนต่างกันกับอันดับสุดท้ายอยู่เท่าไร
- คะแนนของอันดับที่ 2 ห่างจากอันดับที่ 4 เท่าไร
- ถ้าเอาคะแนนของอันดับที่  2 กับ 3 รวมกัน จะได้คะแนนมากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากับอันดับที่ 1
- ถ้าเปลี่ยนคะแนนของผู้สมัครทั้งหมด คิดว่าอันดับที่ได้จะเปลี่ยนไปหรือไม่ เพราะเหตุใด
- ใครได้เป็นเจ้าป่า เพราะเหตุใด
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- พุดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- บันทึกเล่มเล็ก
- ใบงาน
ความรู้
เข้าใจลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และสามารถดำเนินการทางตัวเลขในการบวกและการลบได้

ทักษะ
- การแก้ปัญหาและการให้เหตุผล
- การดำเนินการทางตัวเลข
การคิดสร้างสรรค์
- การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์
การทำงานร่วมกับผู้อื่น
การสื่อสาร  สื่อความหมาย และการนำเสนอ

คุณลักษณะ
- มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 

มาตรฐาน  ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
- ป.1/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์
มาตรฐาน  ค 1.2  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
- ป.1/1 บวก ลบ และบวก ลบระคนของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
- ป.1/3  ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค  6.1  มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- ป.1/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
- ป.1/2    ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ใน  การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
- ป.1/3  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
- ป.1/4    ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง
- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
- ป.1/6    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์



Week


Input

Process

Output

Outcome
3-4
 (5 ชั่วโมง/สัปดาห์)

โจทย์
- การบวก การลบ
- แบบรูปความสัมพันธ์ (เพิ่มขึ้นและลดลง)

คำถาม
จากแบบรูปที่เห็น นักเรียนคิดว่าเป็นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวน

เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Think Pare Share
- Round Rubin
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-นิทาน
- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเชื่อมโยงสู่แบบรูปความสัมพันธ์
- นักเรียนเล่นเกมเติมภาพแบบรูปความสัมพันธ์ (ครูเตรียมแบบรูปของจำนวน สัตว์ ฯลฯ)


 รูปที่ 1 เป็นแมลงตัวโต 1 ตัว แมลงตัวเล็ก 1 ตัว 
รูปที่ 2 เป็นแมลงตัวโต 1 ตัว แมลงตัวเล็ก 2 ตัว 
รูปที่ 3 เป็นแมลงตัวโต 1 ตัว แมลงตัวเล็ก 3 ตัว

รูปที่ 1 เป็นช้างตัวโต 1 เชือก ช้างตัวเล็ก 1 เชือก 
รูปที่ 2 เป็นช้างตัวโต 2 เชือก ช้างตัวเล็ก 1 เชือก 
รูปที่ 3 เป็นช้างตัวโต 3 เชือก ช้างตัวเล็ก 1 เชือก

รูปที่ 1 มีต้นทิวลิป 1 ต้น
 รูปที่ 2 มีต้นทิวลิป 3 ต้น (เพิ่มขึ้น 2 ต้น)
 รูปที่ 3 มีต้นทิวลิป 5 ต้น (เพิ่มขึ้น 2 ต้น)
 รูปที่ 4 มีต้นทิวลิป 7 ต้น (เพิ่มขึ้น 2 ต้น)

ตัวอย่างชุดโจทย์คำถาม
1.จำนวนของแมลงในรูปที่ 1 2 3 มีจำนวนเท่าไร รวมกันทั้ง 3 รูป มีทั้งหมดเท่าไร
2.รูปที่ 1 และ 3 ภาพไหนมีจำนวนมากกว่า น้อยกว่า ต่างกันอยู่เท่าไร
3.จำนวนของแมลงเต่าทองตัวเล็ก หรือตัวใหญ่ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า หรือน้อยกว่า ต่างกันอยู่เท่าไร
4.จำนวนแมลงเต่าทองตัวเล็ก หรือ ตัวใหญ่ที่มีจำนวนคงที่
5.นักเรียนคิดว่าจำนวนแมลงในรูปที่ 4 และ 5 จะเป็นอย่างไร”
- ครูนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นจากกิจกรรมที่ทำ
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าของจำนวนและการดำเนินการทางตัวเลข บวก ลบ
- พุดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- บันทึกเล่มเล็ก
- ใบงาน
ความรู้
เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของแบบรูปที่เพิ่มขึ้น ลดลง อีกทั้งสามารถดำเนินการในการบวกและการลบ ได้

ทักษะ
- การแก้ปัญหาและการให้เหตุผล
- ความรู้สึกเชิงจำนวน
การคิดสร้างสรรค์
- การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์
การทำงานร่วมกับผู้อื่น
การสื่อสาร  สื่อความหมาย และการนำเสนอ

คุณลักษณะ
- มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 

มาตรฐาน  ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
- ป.1/2 เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์
มาตรฐาน  ค 1.2  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
- ป.1/1 บวก ลบ และบวก ลบระคนของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
- ป.1/2 วิเคราะห์และหาคำตอบของโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับไม่เกิน
หนึ่งร้อย และศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
- ป.1/3  ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
- ป.1/4 เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
มาตรฐาน ค 4.1 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
- ป.1/8 บอกจำนวนและความสัมพันธ์ในแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ทีละ 2 และลดลงทีละ1
- ป.1/9 บอกรูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
มาตรฐาน ค  6.1  มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- ป.1/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
- ป.1/2    ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ใน  การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
- ป.1/3  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
- ป.1/4    ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง
- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
- ป.1/6    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


Week


Input

Process

Output

Outcome

5-6

 (5 ชั่วโมง/สัปดาห์)

โจทย์
- การบวก การลบ
- แบบรูปความสัมพันธ์ (เพิ่มขึ้นและลดลง)

คำถาม
จากแบบรูปที่เห็น นักเรียนคิดว่าเป็นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวน

เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Think Pare Share
- Round Rubin
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- เกม
- บัตรภาพ

- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- นักเรียนเล่นเกมเติมภาพแบบรูปความสัมพันธ์ (ครูเตรียมแบบรูป รูปร่าง ขนาด และสี ฯลฯ)







  
ตัวอย่างชุดโจทย์คำถาม
-  มีรูปร่าง ขนาด สี เป็นอย่างไร
- ภาพที่เหมือนกัน มีอยู่เท่าไร ภาพไหนมีมากกว่า น้อยกว่า ต่างกันอยู่เท่าไร
- รูปภาพถัดไปจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด
- รูปไหนเป็นแบบรูปแรก สอง สาม……
- จากแบบรูปที่เห็น นักเรียนคิดว่าเป็นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวน
- ถ้าเพิ่มขึน จะเพิ่มขึ้นครั้งละเท่าไร
- ถ้าลดลงจะลดลงครั้งละเท่าไร
- เราจะสามารถสร้างแบบรูปของเราเองได้อย่างไร
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าของจำนวนตัวเลขและที่มา
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- พุดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
ใบงาน
ความรู้
เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของแบบรูปที่เพิ่มขึ้น ลดลง อีกทั้งสามารถดำเนินการในการบวกและการลบ ได้


ทักษะ
- การแก้ปัญหาและการให้เหตุผล
- ความรู้สึกเชิงจำนวน
การคิดสร้างสรรค์
- การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์
การทำงานร่วมกับผู้อื่น
การสื่อสาร  สื่อความหมาย และการนำเสนอ

คุณลักษณะ
- มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 


มาตรฐาน  ค 1.2  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
- ป.1/1 บวก ลบ และบวก ลบระคนของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
- ป.1/2 วิเคราะห์และหาคำตอบของโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับไม่เกิน
หนึ่งร้อย และศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
- ป.1/3  ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
- ป.1/4 เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
มาตรฐาน ค 4.1 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
- ป.1/8 บอกจำนวนและความสัมพันธ์ในแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ทีละ 2 และลดลงทีละ1
- ป.1/9 บอกรูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
มาตรฐาน ค  6.1  มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- ป.1/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
- ป.1/2    ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ใน  การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
- ป.1/3  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
- ป.1/4    ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง
- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
- ป.1/6    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์         


Week


Input

Process

Output

Outcome

7-8

 (5 ชั่วโมง/สัปดาห์)

โจทย์
- โจทย์ปัญหาการบวกและการลบ
- โจทย์ปัญหาระคน (การบวก การลบ)

คำถาม
เราจะสร้างโจทย์ปัญหาและวิธีคิดอย่างไรให้เข้าใจได้ง่ายในเรื่องการบวก ลบ?

เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Think Pare Share
- Round Rubin
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บัตรภาพ
- โจทย์ปัญหา
- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- นักเรียนเล่นเกมจับคู่คำตอบ
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
 -ครูเล่านิทานเชื่อมโยงสู่โจทย์ปัญหาเขียนบนกระดาน
- ครูวาดภาพ พร้อมเติมจำนวน เช่นเขียนจำนวนแรก พร้อมกบคำตอบ ให้นักเรียนออกมาเติมจำนวนที่เหลือ
ตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวก การลบ
-มีต้นไม้ 25 ต้น ปลูกเพิ่มอีก 5 ต้น รวมแล้วมีต้นไม้เท่าไร
- มีมะนาวอยู่ 35 ลูก แบ่งไปทำอาหาร 4 ลูก เหลือเท่าไร
- ครูกำหนดจำนวนคำตอบให้นักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาให้ได้คำตอบตามที่กำหนดให้ พร้อมแสดงวิธีคิด(นักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาและคำตอบเอง)
ตัวอย่างโจทย์ปัญหาระคน
- มีทุเรียน 10 ผล หายไป 2 ผล ขายได้ 5 ผล เหลือทุเรียนเท่าไร
- น้องเก็บไข่ไก่ตอนเช้า ได้ 10 ฟอง ทำไข่แตกไป 2 ฟอง น้องเก็บไข่ไก่ตอนเที่ยงได้เพิ่มอีก 6 ฟอง รวมแล้วเก็บไข่ไก่ได้ทั้งหมดกี่ฟอง เหลือไข่
- ครูแสดงตัวอย่างวิธีคิดผ่านภาพ และการกระจายตัวเลข
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน



ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าของจำนวนตัวเลขและการบวก ลบ
 - พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- พุดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- บันทึกเล่มเล็ก
- ใบงาน
ความรู้
เข้าใจโจทย์ปัญหาและสามารถดำเนินการทางตัวเลข บวก ลบ ได้

ทักษะ
- การแก้ปัญหาและการให้เหตุผล
- ความรู้สึกเชิงจำนวน
การคิดสร้างสรรค์
- การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์
การทำงานร่วมกับผู้อื่น
การสื่อสาร  สื่อความหมาย และการนำเสนอ

คุณลักษณะ
- มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 


มาตรฐาน  ค 1.2  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
- ป.1/1 บวก ลบ และบวก ลบระคนของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
- ป.1/2 วิเคราะห์และหาคำตอบของโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับไม่เกิน
หนึ่งร้อย และศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
- ป.1/3  ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
- ป.1/4 เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
มาตรฐาน ค 4.1 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
- ป.1/8 บอกจำนวนและความสัมพันธ์ในแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ทีละ 2 และลดลงทีละ1
- ป.1/9 บอกรูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
มาตรฐาน ค  6.1  มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- ป.1/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
- ป.1/2    ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ใน  การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
- ป.1/3  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
- ป.1/4    ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง
- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
- ป.1/6    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


Week


Input

Process

Output

Outcome

9
(5 ชั่วโมง/สัปดาห์)

โจทย์
- สรุปองค์ความรู้
-ทบทวนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

คำถาม
-ในQuarter นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ?
- นักเรียนอยากเรียนรู้และพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องอะไรคณิตศาสตร์ ?

เครื่องมือคิด
- Brainstorms
- Blackboard Share
- Think Pare Share
- Round Rubin
- Show and Share
- Wall Thinking

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-กงล้อจำนวน
-ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
-ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้ง Quarter 2/59
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดในQuarterนักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ?
-นักเรียนช่วยคิดช่วยบอกโดยครูเขียนบนกระดาน
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนอยากเรียนรู้และพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องอะไรคณิตศาสตร์ ?
-ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันอีกครั้งใน Quarter 2/59

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าของจำนวน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
- พุดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ทำตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
สรุปองค์ความรู้
ความรู้
เข้าใจการดำเนินการทางตัวเลข บวก ลบ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
- การแก้ปัญหาและการให้เหตุผล
- ความรู้สึกเชิงจำนวน
การคิดสร้างสรรค์
- การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์
การทำงานร่วมกับผู้อื่น
การสื่อสาร  สื่อความหมาย และการนำเสนอ

คุณลักษณะ
- มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 

มาตรฐาน  ค 1.2  เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
- ป.1/1 บวก ลบ และบวก ลบระคนของจำนวนนับไม่เกินหนึ่งร้อยและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
- ป.1/2 วิเคราะห์และหาคำตอบของโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับไม่เกิน
หนึ่งร้อย และศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ
- ป.1/3  ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
- ป.1/4 เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
มาตรฐาน ค 4.1 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
- ป.1/8 บอกจำนวนและความสัมพันธ์ในแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ทีละ 2 และลดลงทีละ1
- ป.1/9 บอกรูปและความสัมพันธ์ในแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
มาตรฐาน ค  6.1  มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- ป.1/1 ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา
- ป.1/2    ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ใน  การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
- ป.1/3  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
- ป.1/4    ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง
- ป.1/5    เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
- ป.1/6    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์